แต่บ่อยครั้งมักมีข่าวการต่อต้านของประชาชนในพื้นที่บางแห่งไม่ประสงค์ให้ตั้งโรงพยาบาลสนาม จนต้องมีการหาที่ตั้งใหม่ เนื่องจากประชาชนหลายรายก็ยังกังวลใจ กลัวเชื้ออาจจะแพร่ออกมาได้หรือไม่ เพื่อคลายความกังวลใจ หลักเกณฑ์และขั้นตอนการตั้ง รพ.สนามอย่างปลอดภัยเป็นเช่นไร เรามีคำตอบจาก นพ.นเรศฤทธิ์ ขัดธะสีมา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร เข้าร่วมตรวจความพร้อมรูปแบบของการจัดทำโรงพยาบาลสนาม
: 13 พื้นที่สำคัญในโรงพยาบาลสนาม รับมือ COVID-19:
โรงพยาบาลสนามเป็นการจัดตั้งที่พัก สำหรับสังเกตอาการผู้ติดเชื้อที่มีอาการเล็กน้อย หรือไม่มีอาการ ในพื้นที่ที่มีการควบคุม โดยผ่านการคัดกรอง ทั้งนี้ไม่รับกลุ่มที่มีอาการ หรือมีความเสี่ยง สำหรับหลักพิจารณาการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามนั้น
จากข้อมูล นพ.นเรศฤทธิ์ สามารถจัดตั้งขึ้นในบริเวณที่เป็นโรงพยาบาล หรือ สถานที่ที่ไม่ได้เป็น หน่วยงานด้านสาธารณสุขมาก่อน เช่น วัด โรงเรียน โรงยิม หรือ หอประชุมขนาดใหญ่ โดยต้องอากาศโปร่ง และเป็นสถานที่ที่มีการถ่ายเทอากาศได้ดี อยู่ห่างจากชุมชน แต่มีระบบน้ำ ประปา และไฟฟ้าเข้าถึง
ส่วนระบบการดูแลการรักษาผู้ป่วยเป็นไปตามแนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วย COVID-19 ของกระทรวงสาธารณสุขโดย มีระบบดูแลรักษาพยาบาลเบื้องต้น และระบบสำคัญๆ ของ รพ. โดยเฉพาะระบบการควบคุมการติดเชื้อ เพื่อป้องกันการระบาด สู่บุคคลภายนอกและชุมชน โดยปกติโรงพยาบาลสนาม ประกอบด้วยพื้นที่ต่างๆ ดังนี้
7. หน่วยรักษาความปลอดภัย
8. หน่วยยานพาหนะ
9. หน่วยจ่ายกลาง (อาจใช้ร่วมกับโรงพยาบาลหลักที่อยู่ใกล้)
10. แผนกบริการผ้า ซักฟอก (อาจใช้ร่วมกับโรงพยาบาลหลักที่อยู่ใกล้
11.แผนกขยะ การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม (อาจใช้ร่วมกับโรงพยาบาลหลักที่อยู่ใกล้)
12. ห้องเก็บศพการจัดการศพ
: เปิดรายชื่อล่าสุด โรงพยาบาลสนาม :
และจากข้อมูลของ กรมควบคุมโรค ณ วันที่ 8 ม.ค. 64 ระบุ จำนวนผู้ป่วย COVID-19 ระลอกใหม่ ตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค.2563 เป็นต้นมาซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากสมุทรสาคร มีจำนวนผู้ป่วย 5,604 คน เสียชีวิต 7 คน ยังอยู่ในโรงพยาบาล 2,599 คน อยู่ที่โรงพยาบาลสนาม 1,703 คน ยิ่งตอกย้ำให้เห็นถึงการตั้งโรงพยาบาลสนามในสถานการณ์การระบาดหนักในช่วงนี้แต่ประชาชนหลายคนยังกังวลใจและอยากทราบว่า มีโรงพยาบาลสนามที่เตรียมไว้สำหรับรองรับการรักษาผู้ป่วยโควิดที่ใดบ้าง จากการรวบรวมข้อมูล มีรายละเอียด ดังนี้
สมุทรสาคร เป็นจังหวัดที่มีการแพร่ระบาดอย่างมากที่มีจุดเริ่มจากแรงงานต่างด้าว ได้จัดตั้งโรงพยาบาลสนามจำนวน 8 ศูนย์ ได้แก่ ตลาดกลางกุ้ง(ศูนย์ 1), สนามกีฬากลาง(ศูนย์ 2), วัดโกรกกราก(ศูนย์ 3), วัฒนาแฟคตอรี่(ศูนย์ 4), เทศบาลตำบลนาดี(ศูนย์ 5), วัดสุทธิวาตวราราม(ศูนย์ 6), วัดเทพนรรัตน์(ศูนย์ 7), อบต.ท่าทราย(ศูนย์ 8) สามารถรองรับการพักอาศัยได้ 2,092 เตียง สำหรับข้อมูลผู้ติดเชื้อโควิดล่าสุด (8 ม.ค. 64 ) ในสมุทรสาคร มีผู้ติดเชื้อเพิ่ม 37 ราย รวมผู้ป่วยยืนยันสะสม 3,142 ราย
ปทุมธานี โดย รพ.ธรรมศาสตร์ เปิด รพ.สนาม จำนวน 308 เตียง ในการรักษาได้ร่วมมือกับทุก รพ.ในปทุมธานี และทุกจังหวัดในเขตสุขภาพที่ 4 อีก 8 จังหวัดประกอบด้วย นนทบุรี ปทุมธานี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา ในการรับส่งต่อผู้ป่วยโควิด มารักษาที่ รพ.สนามธรรมศาสตร์ ซึ่งดีเดย์รับรายแรกในวันที่ 11 ม.ค. 64 สำหรับข้อมูล ผู้ติดเชื้อโควิดล่าสุด (8 ม.ค. 64) อ่างทอง ผู้ป่วยยืนยันสะสม 76 ราย, สระบุรี รวมป่วยสะสม 12 ราย 1 และพระนครศรีอยุธยา พบผู้ติดเชื้อระลอกใหม่ 23 ราย รักษาหายแล้ว 4 ราย
ชลบุรี นายณรงค์ อภิกุลวณิช รักษาการในตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ปฏิบัติงานหรือบริหารจัดการ (CEO) ในขตสุขภาพที่ 6 (เขตตรวจราชการที่ 2, 8 และ 9) ประกอบด้วย 8 จังหวัด คือ จังหวัดสมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี และจังหวัดสระแก้ว เปิดเผยกับทีมข่าวฯ ว่า ขณะนี้มีโรงพยาบาลสนาม 3 แห่ง รองรับผู้ติดเชื้อได้ทั้งสิ้น 726 คน ดังนี้
– โรงพยาบาลสนามศูนย์การฝึก หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยาน และรักษาฝั่ง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี จำนวน 320 เตียง
– โรงพยาบาลสนามค่ายพระมหาเจษฎาราชเจ้า หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี รวม 174 เตียง
– โรงพยาบาลสนาม สนามฝึกกองทัพเรือ บ้านจันทเขลม หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน จ.จันทบุรี รวม 232 เตียง
นนทบุรี จัดตั้งโรงพยาบาลสนาม ณ โรงพยาบาลบางบัวทอง 2 ซึ่งเปิด Cohort ward ที่ชั้น 2 อาคารผู้ป่วยนอก จำนวน 35 เตียง มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 รักษาจำนวน 12 ราย และเตรียมเปิดโรงพยาบาลสนามที่อาคารใหม่ซึ่งยังไม่เปิดใช้งานอีก 100 เตียง เพื่อดูแลรักษาเฉพาะผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยในจังหวัดนนทบุรี และจังหวัดข้างเคียง สำหรับผู้ติดเชื้อสะสม ณ วันที่ 8 ม.ค. 64 รวม 253 ราย
สำหรับข้อมูลผู้ติดเชื้อล่าสุด (8 ม.ค. 64) จังหวัดสมุทรปราการ มีผู้ติดเชื้อระลอกใหม่ 25 ราย รวมผู้ติดเชื้อสะสมระลอกใหม่ 209 ราย, ฉะเชิงเทรา ผู้ป่วยติดเชื้อสะสม 15 ราย, ชลบุรี รวมป่วยสะสม 478 ราย, ระยองพบว่าวันนี้มี ผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่มขึ้น 7 ราย รวมยอดผู้ป่วยสะสมทั้งสิ้น 492 ราย, จันทบุรี ผู้ป่วยติดเชื้อสะสม 192 ราย, ตราด ผู้ป่วยติดเชื้อสะสม 32 ราย
นอกจากนี้ รพ.สนามกระทรวงสาธารณสุข ยังเตรียมให้ทุกจังหวัดเตรียมรองรับ ทั้งนี้ นายณรงค์ แนะประชาชนต้องร่วมมือกันสู้กับเชื้อโควิดกันอีกครั้ง โดยขอให้ประชาชนทุกคนช่วยกันอยู่บ้าน กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข ลดการออกไปในพื้นที่แออัด และดูแลตัวเอง และติดตามดูว่าตัวเองมีอาการไข้หรือไม่
“ตอนนี้ไม่มีใครรู้ว่าเราติดหรือไม่ติด เพราะตอนนี้หากติดเชื้อแต่ยังไม่มีอาการก็แพร่เชื้อได้ ดังนั้น ทุกคนต้องดูแลตัวเอง เพื่อป้องกันการแพร่กระจาย ครอบครัวไหนที่มีผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงไปอยู่ใกล้ชิด งดทำกิจกรรมนอกบ้าน และถ้ามีอาการผิดปกติ รีบไปพบแพทย์” นายณรงค์ กล่าว
: ข่าวน่าสนใจ :
จิตตก ถอดใจ เบื้องหลัง Away Covid-19 สร้างเสร็จ 2 วัน ไม่ใช้เงินสักบาท
ตอบทุกข้อสงสัย “วัคซีนโควิด” ผลข้างเคียง สร้างภูมิคุ้มกันหมู่
รู้จักโควิด-19 กลายพันธุ์ สายพันธุ์อังกฤษ B.1.1.7 หลังพบในไทย แนะทางรอด
9 เทคนิค กักตัว 14 วัน สังเกตอาการโควิด-19 ไม่ให้เบื่อ ลดเครียด
จากลูกชาวนาสู่ทหารหญิงอเมริกัน รักแท้ต่างวัย 47 ปี 5 ที่สุดประทับใจปี 63