วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2025

‘พช.’ เผย กรมบัญชีกลาง ชี้ ‘โคก หนอง นา โมเดล’ ยึดตามพ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างฯ กระจายรายได้สู่ชุมชน

This image is not belong to us

เมื่อวันที่ 7 มีนาคม นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน(พช.) กระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี ภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้อนุมัติโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม การดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้างโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนา คุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” วงเงินงบประมาณ 4,787,916,400 บาท โดยดำเนินการในพื้นที่ 73 จังหวัด 575 อำเภอ 3,246 ตำบล 25,179 ครัวเรือน กรมการพัฒนาชุมชนได้ดำเนินงานตามโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนา คุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” มาระยะหนึ่ง และได้พบประเด็นปัญหาในการจัดซื้อจัดจ้างตามโครงการฯ ในรายกิจกรรม คือ กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมเพิ่มทักษะระยะสั้นการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียงรูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล กิจกรรมที่ 2 สร้างพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (CLM) ระดับตำบล และพัฒนาพื้นที่ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (HLM) ระดับครัวเรือน กิจกรรมที่ 3 กระตุ้นการบริโภคภาคครัวเรือน และเอกชนผ่านกิจกรรมการพัฒนาและสนับสนุนพื้นที่ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (HLM) ระดับครัวเรือน กิจกรรมที่ 4 บูรณาการร่วมพัฒนาพื้นที่ระดับตำบล ซึ่งแต่ละกิจกรรมในโครงการฯเป็นการกระจายรายได้ลงสู่ชุมชนในระดับตำบล/อำเภอ โดยมีการประมาณการค่าใช้จ่ายรวมของแผนงานโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแยกเป็นชื่อรายการ จำนวน (หน่วยนับ) เป็นรายรุ่น รายแปลง รายครัวเรือน รายฐานการเรียนรู้ และเพื่อเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ โดยกรมการพัฒนาชุมชนได้จัดสรรงบประมาณในโครงการฯ ให้จังหวัดดำเนินการ โดยแบ่งการจัดสรรเป็นรายรุ่น/รายแปลง เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามแผนการดำเนินงาน และแผนการใช้จ่ายเงิน กรมการพัฒนาชุมชนจึงได้หารือแนวทางการขับเคลื่อนโครงการฯ กับกรมบัญชีกลาง ในกรณีการจัดซื้อจัดจ้าง ในแต่ละกิจกรรมสามารถดำเนินการเป็นรายรุ่น รายแปลง รายครัวเรือน และรายฐานการเรียนรู้ ตามเหตุผล ความจำเป็นของงานนั้น ๆ ได้หรือไม่ นั้น

กรมบัญชีกลาง ได้ตอบข้อหารือการดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้างโครงการฯ ตามหนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวจ) 0405.3/10516 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 สรุปได้ดังนี้


1) ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ข้อ 20 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า “การแบ่งซื้อหรือแบ่งจ้างโดยลดวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง ในครั้งเดียวกันเพื่อให้วิธีการซื้อหรือจ้างหรืออำนาจในการสั่งซื้อหรือจ้างเปลี่ยนแปลงไป จะกระทำมิได้” และวรรคสอง กำหนดว่า “กรณีใดจะเป็นการแบ่งซื้อหรือแบ่งจ้างให้พิจารณาถึงวัตถุประสงค์ในการซื้อหรือจ้างครั้งนั้นและความคุ้มค่าของทางราชการเป็นสำคัญ” ซึ่งการที่จะพิจารณาว่าเป็นการแบ่งซื้อหรือแบ่งจ้างหรือไม่ จะต้องพิจารณาจากหลักเกณฑ์ดังนี้ กล่าวคือ มีการแบ่งวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างในครั้งเดียวกันออกเป็นส่วน ๆ โดยไม่มีเหตุผลความจำเป็นทำให้


(1) วิธีการซื้อหรือจ้างเปลี่ยนแปลงไป เช่น วงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง ซึ่งจะต้องดำเนินการโดยการเชิญชวนทั่วไปแล้วไปดำเนินการโดยวิธีเฉพาะเจาะจง เป็นต้น หรือ


(2) อำนาจในการซื้อหรือจ้างเปลี่ยนแปลงไป เช่น แบ่งวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างแล้ววิธีการซื้อหรือจ้างในแต่ละครั้ง ยังคงเป็นวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปอยู่ แต่อำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้าง ในแต่ละครั้ง เปลี่ยนจากผู้มีอำนาจเหนือขึ้นไปหนึ่งชั้น มาเป็นของหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ เป็นต้น


ทั้งนี้ การแบ่งวงเงินในการซื้อหรือจ้างในครั้งเดียวกันออกเป็นส่วน ๆ ซึ่งมีผลให้การซื้อหรือจ้างเปลี่ยนแปลงไปนี้ หรือมีผลทำให้อำนาจในการสั่งซื้อหรือสั่งจ้างเปลี่ยนแปลงไป จะต้องพิจารณาในขณะที่เริ่มดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง มิใช่พิจารณาจากผลของการดำเนินการ


(3) คำว่า “ในครั้งเดียวกัน” ตามนัยระเบียบฯ ข้อ 20 วรรคหนึ่ง นั้น มุ่งหมายถึง การจัดหาพัสดุที่สมควรจะจัดซื้อหรือจ้างในครั้งเดียว ดังนั้น การได้รับอนุมัติจัดสรรเงินงบประมาณในครั้งเดียวกัน หากไม่มีเหตุผลประการใดที่ทำให้หน่วยงานของรัฐไม่สามารถดำเนินการในครั้งเดียวกันได้แล้ว หน่วยงานของรัฐจะต้องจัดซื้อจัดจ้างในครั้งเดียวกัน หากหน่วยงานของรัฐได้แยกการดำเนินการจนมีผลทำให้ วิธีการซื้อหรือจ้างเปลี่ยนแปลงไป หรือเพื่อให้อำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างเปลี่ยนแปลงไป กรณีนี้จะเป็นการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยระเบียบฯ


สำหรับกรณีที่ได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณในการซื้อหรือจ้าง โดยจำแนกเป็นรายการก็ถือว่าเงินงบประมาณของแต่ละรายการแยกออกจากกัน ดังนั้น การดำเนินการซื้อหรือจ้าง ตามระเบียบฯ จึงสามารถดำเนินการได้ในลักษณะหนึ่งลักษณะใดดังต่อไปนี้ คือ 1. ดำเนินการจัดซื้อหรือจัดจ้างเป็นรายครั้ง ๆ ละรายการ หรือ 2. ดำเนินการจัดซื้อหรือจัดจ้างเป็นรายครั้ง ๆ ละกลุ่ม หรือ 3. ดำเนินการจัดซื้อหรือจัดจ้างเป็นรายครั้ง ๆ ละหลายกลุ่ม หรือ 4. ดำเนินการจัดซื้อหรือจัดจ้างรวมกันในครั้งเดียว

การดำเนินโครงการฯ ดังกล่าว ถือเป็นการกระจายรายได้ลงสู่ชุมชน ในระดับตำบล/อำเภอ โดยมีการประมาณการค่าใช้จ่ายรวมของแผนงานโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแยกเป็นชื่อรายการ จำนวน (หน่วยนับ) เป็นรายรุ่น รายแปลง รายครัวเรือน รายฐาน และเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่น และชุมชนผ่านการสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร แรงงาน และบัณฑิตจบใหม่ กลุ่มแรงงานที่อพยพกลับท้องถิ่นและชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยมีการจัดสรรงบประมาณโครงการฯ ให้จังหวัดดำเนินการ แบ่งการจัดสรรเป็นรายรุ่น/รายแปลง เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามแผนการดำเนินงาน และแผนการใช้จ่ายเงิน ประกอบกับห้วงระยะเวลาดำเนินงาน สภาพแปลงพื้นที่แตกต่างกัน และต่างพื้นที่ ดังนั้น กรณีนี้กรมการพัฒนาชุมชนย่อมสามารถดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างเป็นรายรุ่น รายแปลง รายครัวเรือน รายฐานการเรียนรู้ และสามารถนำแนวทางการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามความเห็นของคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐมาพิจารณาประกอบการดำเนินการได้ โดยพิจารณาเลือกใช้วิธีการจัดซื้อจัดจ้างตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามนัยมาตรา 55 และมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560

นายสุทธิพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้กรมการพัฒนาชุมชนได้มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด (ยกเว้นจังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดสมุทรสาคร) ให้ทราบและถือปฏิบัติตามแนวทางที่คณะกรรมการวินิจฉัยฯ กำหนด ที่ผ่านมาต้องขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ช่วยกันขับเคลื่อนโครงการฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี ขอให้ใช้จ่ายงบประมาณโดยยึดประโยชน์ของพี่น้องประชาชนเป็นที่ตั้ง เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ คือ การกระจายรายได้ลงสู่ชุมชน การฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน ผ่านการสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร แรงงาน และบัณฑิตจบใหม่ กลุ่มแรงงานที่อพยพกลับท้องถิ่นและชุมชน เพื่อให้เศรษฐกิจฐานรากมั่นคงและชุมชนพึ่งตนเองได้อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ต่อไป


This image is not belong to us


This image is not belong to us


This image is not belong to us


This image is not belong to us


This image is not belong to us


สิงห์บุรี

สิงห์บุรี

ถิ่นวีรชนคนกล้า คู่หล้าพระนอน นามกระฉ่อนช่อนแม่ลา เทศกาลกินปลาประจำปี

Related Posts

Next Post

บทความ แนะนำ

No Content Available

Welcome Back!

Login to your account below

Create New Account!

Fill the forms below to register

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.