วันพุธที่ 18 มกราคม 2566 นางสาวสาวิตรี อุดมพันธ์ นักประชาสัมพันธ์ชำนาญการรักษาราชการแทนพัฒนาการอำเภอเมืองสิงห์บุรี พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอเมืองสิงห์บุรีดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับครัวเรือน โดยใช้ข้อมูลจากระบบ TPMAP (Thai people Map and analytice platform) กิจกรรมที่ 1 ประชุมเชิงปฏิบัติการวิเคราะห์ข้อมูล ตามหลัก 4 ท โดยมีครัวเรือนยากจนในระบบ TPMAP ที่สามารถพัฒนาได้,ครัวเรือนที่มีรายได้น้อย ตามข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.),ครัวเรือนเป้าหมายในระบบ Thai QM,ครัวเรือนที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาภัยพิบัติ,ครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และครัวเรือนที่มีความสนใจในการฝึกปฏิบัติอาชีพ ของตำบลม่วงหมู่ จำนวน 27 ครัวเรือน เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ณ ศาลาประชาคม หมู่ที่ 4 ตำบลม่วงหมู่ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
นางสาวสาวิตรี อุดมพันธ์ กล่าวว่า “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาวิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก จึงจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตในการดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้เกิดความสมดุล 3 สร้างทางรอดสังคมไทยที่จะทำให้อยู่รอดในสังคมไทยนั้นจะต้อง 1.สร้างความมั่นคงทางอาหาร มุ่งเน้นที่การพึ่งพาตนเอง คือการผลิตด้วยตนเองเพื่อการพออยู่พอกิน หากเป็นระดับดับครัวเรือน จะหมายถึงการผลิต เพื่อการบริโภคในครัวเรือนได้เพียงพอไม่ต้องซื้อจากภายนอก เช่น การปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อใช้ประกอบอาหารในชีวิตประจำวันเพื่อลดค่าใช้จ่ายประจำวัน เลี้ยงสัตว์ที่เป็นอาหารของครัวเรือน เช่นไก่ เป็ด ปลา กบ รวมทั้งการแปรรูปผลิตผลในบ้านเพื่อเป็นการถนอมอาหารและใช้ประโยชน์ในครัวเรือน
2.สร้างสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน ทำได้โดยการบริหารจัดการขยะ ลดการใช้ผลิตภัณฑ์สร้างขยะ คัดแยกขยะ นำกลับมาใช้ซ้ำ หมักขยะเปียกเพื่อเป็นปุย หรือถังขยะเปียกลดโลกร้อน การจัดสุขลักษณะในบ้าน โดยการจัดบริเวณบ้าน สะอาดเป็นระเบียบ ไม่เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค และไม่เป็นพาหะนำโรค
และ 3.สร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม ทำได้โดยการปฏิบัติศาสนกิจ พิธีและความเชื่อเป็นประจำมีการแบ่งปันเอื้อเฟื้อระหว่างกัน การร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์สาธารณะด้วยจิตอาสา อาสาสมัครเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสาธารณะของหมู่บ้าน การปรับปรุง ถนน คู คลอง หรือการร่วมกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้าน การออกกำลังกายเสริมสุขภาพ เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ครัวเรือน ต้องมีการออกกำลังกายในรูปแบบต่าง ๆ เป็นประจำ
ครัวเรือนเป้าหมายจะต้องวิเคราะห์ศักยภาพของสมาชิกในครัวเรือนตามหลัก 4 ท คือ 1.ทัศนคติ คือสิ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด ถ้าได้รับโอกาส 2.ทักษะ คือ ความชำนาญที่เกิดจากการฝึกปฏิบัติตามกิจกรรมนั้นบ่อย จนสามารถปฏิบัติได้ด้วยความรวดเร็วและถูกต้อง 3.ทรัพยากร หมายถึง ปัจจัยการผลิต ซึ่งประกอบด้วย ที่คืน แหล่งน้ำ เงินทุน และ 4.ทางออก คือ หนทางที่ครัวเรือนยากจนคิดและตัดสินใจว่าจะแก้ไขความยากจนของคนเองได้ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตระดับครัวเรือน พัฒนาอาชีพ และสร้างความมั่นคงทางรายได้ให้กับครัวเรือนเพื่อให้ทุกคนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น”
ภาพ/ข่าว : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองสิงห์บุรี @พช.สิงห์บุรี
https://www.facebook.com/profile.php?id=100088412962172
Change for Good
“เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง ชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
#กรมการพัฒนาชุมชน