เดิมมีชื่อว่า “วัดท่ากระบือ” หรือ ชาวบ้านรู้จักในนาม “วัดท่าควาย” จุดเด่นอยู่ที่ “พระพุทธรูปทองคำงดงามแห่งสุโขทัย” เป็น พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยหล่อขึ้นด้วยวัสดุโลหะ สัมฤทธิ์ผสมทองคำ แต่แรกพระพุทธรูปองค์นี้ห่อหุ้ม ด้วยปูน ประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ในวิหารร้าง กลางป่าช้าด้านหลังวัด (ทิศตะวันตก) มากว่า 100 ปีครั้นเมื่อสร้างอุโบสถหลังใหม่เกือบสมบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2491 ชาวบ้านได้ร่วมแรงกันอัญเชิญพระพุทธ รูปองค์นี้ออกจำกวิหารร้างไปประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถหลังใหม่จนเป็นเหตุให้เกิดรอยร้าว ของปูนและเห็นเนื้อแท้บางส่วนของพระพุทธรูปทำ ด้วยโลหะ พระภิกษุและชาวบ้านจึงช่วยกันกะเทาะ ปูนที่หุ้มภายนอกออกทั้งหมด พบว่าเป็นพระเนื้อ โลหะที่ค่อนข้ำงสมบูรณ์และงดงามมาก พระพุทธ รูปองค์นี้มีความงดงามอ่อนช้อย พระพักตร์อิ่มเอิบดังคำกล่าวถึงพระศิลปะสุโขทัยรุ่นนี้ว่า “หน้านางคางหยิก” ซึ่งบ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธ ศาสนาสูงสุดในสมัยนั้น พระพุทธรูปสุโขทัยองค์นี้ได้ร่วมประกวดสมัยกึ่งพุทธกาล เมื่อปีพ.ศ. 2500 และ ได้รับรางวัลที่ 1 ประเภทสวยงาม